วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556


แก่นตะวัน
มีสารเส้นใย เรียกว่า  พรีไบโอติก  ช่วยล้างพิษลำไส้ใหญ่  คุมการทำงานของลำไส้ใหญ่ให้เป็นปกติ ป้องกันไขมันและน้ำตาลในเลือดสูง ลดความดันโลหิต กระตุ้นการดูดซึมแร่ธาตุหลายชนิด โดยเฉพาะแคลเซียมและธาตุเหล็ก ทำให้กระดูกแข็งแรง
เป็นพืชที่เป็นพรีไบโอติก(Prebiotics)  มีสารเส้นใยสูง ประกอบไปด้วย อินนูลิน(Inulin) และฟรุคโตโอลิโกแซคคาร์ไรด์(FOS)        
  มีประโยชน์ดังนี้
- ล้างพิษลำไส้ใหญ่และควบคุมการทำงานของลำไส้ใหญ่ให้เป็นปกติ
- FOSทำให้เกิดกรดไขมันโครงสร้างสั้น ซึ่งให้ผลในการป้องกันการท้องผูก/ท้องเสีย ป้องกันมะเร็ง ลำไส้ใหญ่และป้องกันกระดูกผุ
- มีบทบาทต่อภูมิต้านทานและป้องกันการติดเชื้อซัลโมเนลล่าและอีโคไล
- ป้องกันพิษของโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ซึ่งจะมีผลต่อระบบประสาท
- กระตุ้นการดูดซึมแร่ธาตุหลายชนิด,มีแคลเซียมและธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น ทำให้กระดูกแข็งแรงและสามารถฟื้นคืนสภาพจากกระดูกที่ผุแล้วกลับคืนมา
- ช่วยป้องกันอาการภูมิแพ้และการแพ้อาหาร โดยเฉพาะในเด็ก
- ช่วยลดความดันโลหิต

วิธีรับประทาน : ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ และน้ำ 150 มล. วันละ 2 เวลา ก่อนอาหารเช้าและเย็น
ส่วนประกอบสำคัญ : น้ำสกัดแก่นตะวัน 55%   น้ำสกัดกระเจี๊ยบแดง 11%   น้ำสกัดกล้วยน้ำว้า 11%
ปริมาตรสุทธิ 750 มล.
ผลิตโดย ชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน

แก่นตะวัน พันธุ์พืชต่างประเทศแต่เหมาะกับเมืองไทยปลูกง่าย เหมือนมันสำปะหลัง มีตลาดรองรับใช้ได้ทั้งบริโภคสกัดเป็นเอทานอลและเป็นแหล่งท่องเที่ยว รศ.ดร.สนั่น จอกลอย หัวหน้าทีมงานวิจัยของคณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้นำสายพันธุ์แก่นตะวัน มาปลูกทดลองในประเทศไทย กล่าวว่า แก่นตะวันหรือ Jerusalem artichoke มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Helianthus tuberosus เป็นพืชที่ใกล้ชิดกับทานตะวัน มีดอกคล้ายทานตะวันและบัวตอง แต่มีขนาดเล็กกว่า มีหัวใต้ดินคล้ายมันฝรั่ง เพื่อเก็บสะสมอาหาร ซึ่งเป็นน้ำตาล Inulin ประกอบด้วยน้ำตาล fructose ต่อกันเป็นโมเลกุลยาว .shape { BEHAVIOR: url(#default#VML) }

 แก่นตะวัน.....มีถิ่นกำเนิดในเขตหนาว ของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่สามารถปลูก และปรับตัวได้ดี ในสภาพเพาะปลูกของประเทศไทย การใช้ประโยชน์โดยใช้หัวเป็นอาหารคน และอาหารสัตว์ รวมทั้งการใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตแอลกอฮอล์ จากรายงานการวิจัยของต่างประเทศ พบว่า การบริโภค แก่นตะวันจะไม่ถูกย่อยในกระเพาะ เป็นสารเยื่อใยอาหารที่ให้แคลลอรี่ต่ำ ช่วยลดความอ้วน ไม่เพิ่มปริมาณน้ำตาลในเลือด จึงไม่เป็นปัญหากับผู้เป็นโรคเบาหวานช่วยลด Cholesterol Triglyceride และ LDL ในร่ายกายจึงลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ยังพบว่าเป็นประโยชน์ต่อแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเช่น Bifidobacteria และ Lactobacilli แต่ลดกิจกรรมของแบคทีเรีย ก่อโรค เช่น Coliforms และ E. Coli จึงเป็นที่ยอมรับกันว่าแก่นตะวันเป็น Prebiotic ทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายดีขึ้น.shape { BEHAVIOR: url(#default#VML) }

แก่นตะวัน คลื่นลูกใหม่ของอาหารเพื่อสุขภาพ
เชื่อว่าหลาย คนที่กำลังลดน้ำหนักอยู่หรืออยากลดน้ำหนักคงจะแสวงหาวิธีการดูแลตัวเองไม่ให้มีปัญหาในเรื่องของความอ้วน ทั้งดูแลเรื่องการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพ วิธีการควบคุมอาหาร และเมนูอาหารที่ผมเห็นว่าเหมาะแก่คนลดความอ้วนเอามาก เลยคือ เมนูอาหารที่ทำจากแก่นตะวัน เมนูที่ทำจาก แก่นตะวันมีมากมากหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ยำแก่นตะวันกุ้งสด ไข่ตุ๋นแก่นตะวัน แกงเผ็ดแก่นตะวัน สลัดแก่นตะวัน ผัดแก่นตะวัน หรือแม้แต่จะนำมากินเปล่าๆ เป็นของขบเคี้ยวก็ยังได้ ที่สำคัญคือ กินแล้วไม่อ้วนอีกต่างหาก
มีรายงานการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์หลายกลุ่มที่ออกมายืนยันในเรื่องนี้ รายงานในปี 2005 ว่า คนที่กิน อินนูลิน เป็นประจำ ในลำไส้ใหญ่จะมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่มีแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพน้อยลง นอกจากนี้สารเส้นใยที่มีมากในแก่นตะวันก็ยังมีส่วนช่วยในการดูดซับไขมันในทางเดินอาหารไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าไปในระบบเลือดของเรา จึงมีรายงานของคอเซ อีกเช่นกันที่รายงานในปี 2000 ว่า คนที่มีระดับคอเลสเตอรอล และไตรกรีเซอไรด์สูง หากบริโภคอินนูลินเป็นประจำ จะทำให้ระดับของไขมันในเลือดลดลงได้ ในอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์หลายชนิด ก็ค้นพบอีกว่า ถ้าให้สัตว์เลี้ยงอย่างเช่น สุกรในฟาร์ม ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องอุจจาระมีกลิ่นเหม็นรุนแรงกินอาหารที่ผสมอินนูลินไปได้ สักพักจะพบว่า กลิ่นอุจจาระเหล่านั้นจะเบาบางลง ในคนที่มีปัญหาเรื่องกลิ่นปาก กลิ่นตัว กลิ่นอุจจาระหรือผายลมรุนแรง ได้กินอินนูลินเป็นประจำพบว่า สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้เป็นที่น่าพอใจ  
สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน แต่ยังติดที่จะกินแป้งและน้ำตาล ข่าวดีก็คือ ในปี 1983 รายงานผลงานวิจัยออกมาว่า คนที่กินอินนูลินเป็นประจำ จะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานน้อยกว่าคนที่กินน้ำตาลสูงถึง 40% จึงอาจนับได้ว่า อินนูลินในแก่นตะวันมีบทบาทในการป้องกันเบาหวานได้ด้วย

ในขณะนี้ ได้มีหลายองค์กรที่นำเอาแก่นตะวันมาปลูกในประเทศไทย จึงทำให้แก่นตะวันหาได้ง่ายขึ้นมาก ส่วนใหญ่ที่นำมาขายจะปอกเปลือกมาให้เสร็จ หน้าตาของมันจะคล้ายๆ แง่งขิง กัดชิมดูจะมีรสหวานนิดๆ กรอบๆ มันๆ คล้ายแห้ว หากทำให้สุกจะหวานมากขึ้นและหอมน่ากิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น